เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [9.โปฏฐปาทสูตร]
ว่าด้วยสัญญามีเหตุมีปัจจัยเกิดดับ

สมณพราหมณ์อีกคนหนึ่งเสนอว่า ‘ท่านทั้งหลาย เรื่องนั้นไม่ถูก เพราะสัญญา
เป็นอัตตา(ตัวตน)ของคนที่เวียนเข้าเวียนออก เวลาที่สัญญาเป็นอัตตาเวียนเข้า คนก็
มีความจำ เมื่อสัญญาเป็นอัตตาเวียนออก คนก็จำอะไรไม่ได้’ พวกหนึ่งเสนอ
ประเด็นเรื่องอภิสัญญานิโรธไว้อย่างนี้
สมณพราหมณ์อีกคนหนึ่งเสนอว่า ‘ท่านทั้งหลาย เรื่องนั้นก็ไม่ถูก เพราะมี
สมณพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก สามารถบันดาลสัญญาของคนให้เข้าไป
หรือให้ออกไปก็ได้ เวลาที่บันดาลให้สัญญาเข้าไป คนก็มีความจำ เมื่อบันดาลให้สัญญา
ออกไป คนก็จำอะไรไม่ได้’ พวกหนึ่งเสนอประเด็นเรื่องอภิสัญญานิโรธไว้อย่างนี้
สมณพราหมณ์อีกคนหนึ่งเสนอว่า ‘ท่านทั้งหลาย เรื่องนั้นก็ไม่ถูก เพราะมี
เทวดาผู้มีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก สามารถบันดาลสัญญาของคนให้เข้าไปหรือให้ออก
ไปก็ได้ เวลาที่บันดาลให้สัญญาเข้าไป คนก็มีความจำ เมื่อบันดาลให้สัญญาออกไป
คนก็จำอะไรไม่ได้’ พวกหนึ่งเสนอประเด็นเรื่องอภิสัญญานิโรธไว้อย่างนี้
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ระลึกถึงพระผู้มีพระภาคว่า ‘ผู้ฉลาดในธรรม
เหล่านี้ ต้องเป็นพระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตเท่านั้น’ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระ
ผู้มีพระภาคทรงฉลาดรอบรู้ในเรื่องอภิสัญญานิโรธนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อภิสัญญานิโรธเป็นอย่างไรหนอแล”

ว่าด้วยสัญญามีเหตุมีปัจจัยเกิดดับ

[412] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “โปฏฐปาทะ บรรดาสมณพราหมณ์
เหล่านั้น ความเห็นของพวกที่กล่าวว่า ‘สัญญาของคนไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยเกิดดับ
ไปเอง’ นั้นผิดตั้งแต่แรกทีเดียว เพราะเหตุไร เพราะสัญญาของคนมีเหตุมีปัจจัย
เกิดก็มี ดับก็มี สัญญาอย่างหนึ่งเกิดเพราะการศึกษา1ก็มี สัญญาอีกอย่างหนึ่ง
ดับเพราะการศึกษาก็มี

เชิงอรรถ :
1 สิกขา การศึกษา การสำเหนียก หรือข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรม มี 3 อย่างคือ อธิสีลสิกขา (การ
ศึกษาอบรมในเรื่องศีล) อธิจิตตสิกขา (การศึกษาอบรมในเรื่องจิต เรียกง่าย ๆ ว่าสมาธิ) และอธิปัญญา-
สิกขา (การศึกษาอบรมในเรื่องปัญญา) เป็นเหตุใหัสัญญาดับและเกิดได้ เช่น พอจิตบรรลุปฐมฌาน
กามสัญญาก็ดับไป สัจสัญญาอันละเอียดมีปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกก็เกิดขึ้นมาแทน (ที.สี.อ. 413/307)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :177 }